วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

Nano Titanium dioxide ::


นาโนเทคโนโลยีคืออะไร ?



        ในปัจจุบันโลกวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศกำลังตื่นตัวกับนาโนเทคโนโลยี ซึ่งเรามักจะพบเห็นปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์ที่ดูเหมือนจะขยายและคลอบคลุมในหลายด้าน เช่น ด้านคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และทางด้านการแพทย์

        คำว่า”นาโนเทคโนโลยี” เพิ่งจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายเสมือนเป็นคำที่ใหม่ แต่ผู้ที่จุดประกายให้วิสัยทัศน์ของนาโนเทคโนโลยี คือ ศาสตราจารย์ริชาร์ด ฟายน์แมน (Richard Feynman) ได้กล่าวบรรยายเรื่อง There is Plenty of Room at the Bottom ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี พ.ศ. 2502 ว่า “สักวันหนึ่งเราจะสามารถประกอบและผลิตสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอมด้วยความแม่นยำและเท่าที่ข้าพเจ้ารู้ ไม่มีกฎทางฟิสิกส์ใด ๆ แม้แต่หลักแห่งความไม่แน่นอนที่จะมาขัดขวางความเป็นไปได้นี้” ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ท่านได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ ซึ่งจากคำกล่าวนี้ชี้นำความคิดแก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้หันมาสนใจสิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กแทนการศึกษาสิ่งที่มีขนาดใหญ่ โดยการยกตัวอย่างเซลล์ขนาดเล็กของสิ่งมีชีวิตที่สามารถทำงานได้อย่างมหัศจรรย์ และได้เสนอแนวความคิดในการพิจารณาความเป็นไปได้ที่ของที่มีขนาดเล็กยังต้องการคำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ และมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้

       นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ที่เอาไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเพื่อประดิษฐ์วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การสังเคราะห์วัสดุที่มีข้อด้อยลดลง การตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัยที่มีความละเอียดแม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับวัสดุหรือสิ่งของที่เล็กมากอยู่ในระดับนาโนเมตร ซึ่งนาโนเทคโนโลยีจะให้ความสำคัญแก่กระบวนการเตรียมหรือการใช้เทคโนโลยีในช่วงแรก โดยเริ่มจากการควบคุมแค่ละโมเลกุลหรืออะตอมที่ส่งผลต่อการประกอบหรือการรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นสารที่มีขนาดใหญ่ ทำให้นาโนเทคโนโลยีมีความพิเศษ คือ มีความเฉพาะเจาะจง สามารถควบคุมการทำงานของสารที่สร้างขึ้นได้ทั้งในด้านเคมีและฟิสิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยนาโนเมตร(nanometer) ที่ใช้สัญลักษณ์ตัวย่อ nm เป็นหน่วยของระบบ SI ซึ่งที่คุ้นเคยกันดีคือ ระดับเซนติเมตรและเมตร ซึ่ง 1 นาโนเมตร คือความยาว 1 ในสิบล้านของเซนติเมตร (10-7 เซนติเมตร) หรือ ในพันล้านของเมตร (10-9 เมตร) เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบในร่างกายที่มีขนาดเล็ก เช่น โมเลกุลของดีเอ็นเอ มีความกว้าง 2.5 นาโนเมตร ซึ่งขนาด 1 นาโนเมตร คือ ขนาดของอะตอมที่มีความเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ถึงแปดหมื่นเท่า แม้ว่าในปัจจุบันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่ระบุช่วงความยาวเท่าใดว่าจัดเป็นนาโนเทคโนโลยี แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า สิ่งที่มีขนาดในช่วง 1 นาโนเมตร ถึง 100 นาโนเมตร จัดว่าเป็นนาโนเทคโนโลยีเกือบทั้งสิ้น


นาโน (nano) คืออะไร?

นาโน คือ รากศัพท์มาจากภาษากรีก หมายถึง “แคระ”

นาโนเมตร (nanometer) หมายถึงอะไร?

นาโน เป็นคำที่เติมหน้าหน่วยในงานด้านวิทยาศาสตร์ หมายถึง 1 ส่วนใน 1,000 ล้านส่วน(10-9)

ดังนั้น นาโนเมตร จึงหมายถึง 10-9 เมตร



ความหมายของนาโนเทคโนโลยี


นาโนเทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้าง หรือการสังเคราะห์วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร (ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้น และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้


คุณค่าจากไทเทเนียมไดออกไซด์รูปแบบนาโน




1. ความชำนิชำนาญในการขัดขวางแบคทีเรีย : ไทเทเนียมไดออกไซด์ไม่ก็แค่กำจัดแบคทีเรียได้เท่านั้น ถึงกระนั้นยังช่วยในการสลายซากของตัวเองด้วยไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยความสว่างนั้น มีสมรรถนะสูงกว่าสารขัดขวางแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ด้วยเหตุที่ปฏิกิริยาจะดำเนินกิจการเมื่อมีเซลล์บักเตรีสัมผัสกับผิว หรือเมื่อบักเตรีแพร่ไปไปบนผิว นอกจากนี้สารพิษที่ก่อกำเนิดจากการสลายเซลล์ก็จะถูกกำจัดจากการเร่งปฏิกิริยาด้วยความสว่างมาจากไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วย พร้อมกับที่สำคัญไทเทเนียมไดออกไซด์จะไม่มีการเสื่อมสมรรถนะหลังจากที่ทำลายเชื้อบักเตรี ทำเอามีสมรรถนะการใช้งานที่นาน

2. ความสามารถเฉพาะด้านการกำจัดกลิ่น : ด้านการขจัดกลิ่น อนุภาคไฮดรอกซีที่เกิดจากไทเทเนียมไดออกไซด์ สามารถขจัดโมเลกุลของ สารอินทรีย์ ที่ระเหยอยู่ใน อันเป็นต้นเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ โดยการล้มล้างพันธะระหว่างโมเลกุลของสารพวกนั้น ด้วยกลอุบายนี้จะทำเอาสารอินทรีย์ที่ระเหยอยู่ในอากาศสลายออกเป็นโมเลกุลโดดเดี่ยวจึงไม่สามารถทำร้าย หรือส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ นอกจากนี้ยังมีสมรรถนะในการฟอกภูมิอากาศให้สะอาด โดยการปราบโมเลกุลของสารที่ทำเอาเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์อาทิเช่น กลิ่นบุหรี่ กลิ่นยาสูบ สารกลุ่ม ฟอร์มอดีไฮด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ยูรีน กลิ่นอุจจาระ น้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอีกหลายแบบในอากาศ ไทเทเนียม

3. ศักยภาพในการฟอกอากาศ : ไทเทเนียมไดออกไซด์ ที่โดนเร่งปฏิกิริยาด้วยความสว่างจะสามารถเขี่ยสารที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้ ราว สารประกอบไนโตรเจนออกไซด์ ควันบุหรี่ รวมถึงสารระเหยต่างๆ ที่ออกมาจากอาคาร รวมถึงโครงสร้างของตึกได้ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาเขม่า พร้อมด้วยคราบดำต่างๆ ที่จะเกาะกุมผนังบ้าน รวมถึงช่วยกวาดล้างสารพวกที่สลายชั้นบรรยากาศ ราว ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) พร้อมด้วยก๊าซเรือนกระจกกลุ่มอื่น รวมถึงก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ พร้อมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทั้งทางตรง พร้อมด้วยทางอ้อมหากได้รับการกระตุ้นเร้าด้วยแสง ในบริเวณที่มีมลพิษสูง

4. สามารถคุ้มกันการเกิดหยดน้ำ พร้อมด้วยรอยสกปรกต่างๆ รวมถึงทำให้เกิดสมบัติการชำระล้างตนเอง : ผนังข้างนอกของอาคารที่ถูกปกคลุมด้วยรอยสกปรกเขม่าจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่มีส่วนผสมเป็นน้ำมัน เมื่อผนังตึกถูกทาด้วยไทเทเนียมไดออกไซด์ซึ่งมีสมบัติการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง จะทำเอาผนังมีคุณสมบัติในการชำระล้างตนเอง โดยเมื่อถูกกระตุ้นเร้าด้วยแสงสว่าง ไทเทเนียมไดออกไซด์จะสลายสารประกอบไฮโดรคาร์บอน รวมถึงฝุ่นละอองต่างๆ ที่ติดตามอยู่กับผนัง พร้อมด้วยจะถูกชำระล้างออกจากผนังแบบง่ายได้เมื่อฝนลงเม็ดลงมา ทำเอาผนังตึกดูสะอาดพร้อมด้วยใหม่อยู่เสมอ

5. ความสามารถในการจัดทำน้ำสะอาด : สารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง(ไทเทเนียมไดออกไซด์) รวมกับ รังสีอุลตร้าไวโอเลต สามารถกำจัดสารอินทรีย์ที่ก่อมลพิษให้เปลี่ยนแปลงเป็นสารที่ปลอดภัยได้ ราว ทำเอาเปลี่ยนแปลงเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมด้วยน้ำ รวมถึงมีคุณสมบัติในการขัดขวางแบคทีเรีย Technologyนี้มีสมรรถนะสูงในการทำลายสารอินทรีย์อันตราย พร้อมด้วยช่วยฆ่าบักเตรีหลายประเภทรวมถึงเชื้อไวรัสในวิธีการที่สองของการรักษาน้ำเสีย โครงการต้นแบบชี้ให้เห็นว่า กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงนั้นมีสมรรถนะสูงในการฆ่าบักเตรี Escherichia coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียในอุจจาระที่ปนเปื้อนในน้ำ ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยอดเยี่ยมในกรรมวิธีบำบัดน้ำทิ้ง ไทเทเนียม


อ้างอิง :: 

SKETCH UP & MODEL ::

SKETCH ::

 

 

 

 


 


MODEL ::


Model ครั้ง ที่ 1 ( 1 )

Model ครั้งที่ 1 ( 2 )

Model ครั้งที่ 2









วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

Hygiene+ ( Plus ) ::



    Hygiene+ ( Plus )  คือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสุขภัณฑ์ โดยจะปล่อยประจุของสาร Nano Titanium  Dioxide ออกมา ซึ่งสาร Nano Titanium Dioxide จะไปเร่งทำปฏิกิริยาด้วยแสงรวมกับ รังสีอุลตร้าไวโอเลต สามารถกำจัดสารอินทรีย์ที่ก่อมลพิษให้เปลี่ยนแปลงเป็นสารที่ปลอดภัยได้ รวมถึงมีคุณสมบัติในการขัดขวางแบคทีเรีย Technology นี้มีสมรรถนะสูงในการทำลายสารอินทรีย์อันตราย พร้อมด้วยช่วยฆ่าแบคทีเรียหลายประเภทรวมถึงเชื้อไวรัสในวิธีการที่สองของการรักษาน้ำเสีย โครงการต้นแบบชี้ให้เห็นว่า กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงนั้นมีสมรรถนะสูงในการฆ่าแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียในอุจจาระที่ปนเปื้อนในน้ำ ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยอดเยี่ยมในกรรมวิธีบำบัดน้ำทิ้ง ไม่เพียงแค่นั้นระบบภายใน Hygiene+ สามารถฟอกอากาศ และดูดควันบุหรี่ภายในห้องน้ำได้อย่างยอดเยี่ยม และที่สำคัญไปกว่านั้น ระบบของ Hygiene+ ใช้หลักการไฟฟ้าเชิงกล โดยมีแบตเตอร์รี่สำรองไฟ และหากไฟหมด ก็จะมีระบบปั่นไฟในตัว โดยทุกครั้งที่เราดึงทิชชู่มาใช้นั้น คือการปั่นไฟไว้ใช้สำรองของเจ้าเครื่องนี้อีกด้วย ประหยัดทั้งพลังงานน้ำ และพลังงานไฟฟ้าได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

     Hygiene+ ( Plus )   เหมาะกับการใช้งานในห้องน้ำสาธาณะทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน หรือแม้กระทั่งใช้ในบ้าน  ทั้งสะดวก สบาย สะอาด ปราศจากเชื้อโรคประหยัด ปลอดภัย และแข็งแรงทนทาน แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยกันใช้พลังงานนน้ำและไฟน้อยลงอีกด้วย

    Hygiene+ ( Plus )   ออกแบบให้เพื่อเหมาะกับทุกคน ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก แม้กระทั่งเด็กๆหรือคนชราก็ใช้ได้อย่างไม่ลำบาก  เพียงแค่เปิดสวิตช์เพียง 1 ตัว ระบบก็จะทำงานด้วยตัวเอง โดยจะมีแสงภายในตัวเครื่องเข้าทำปฎิกริยากับสาร Nano Titanium Dioxide ซึ่งเคลือบและบรรจุอยู่ภายในตัวเครื่อง พร้อมทั้งกรองอากาศ ทำให้อากาศภายในปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ รู้สึกสดชื่นทุกครั้ง






Hygiene+


   วิธีใช้


       Hygiene+ จะมีสวิตช์ เปิด-ปิด ไฟ ตรงบริเวณด้านล่าง  และทุกครั้งที่ดึงทิชชู่ออกมาใช้ก็เท่ากับ ได้ทำการสำรองไฟไปแล้วในตัว


การดูแลรักษา

       Hygiene+ มีสารเคลือบ ไทเทเนียมไดออกไซด์กันเชื้อโรคด้านนนอก ทำให้ไม่มีคราบเกาะ ทำความสะอาดง่าย เพียงเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่อง ด้วยผ้านุ่มๆ











วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

In the future ::


วิเคราะห์ในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2560)






1.เศรษฐกิจ  เศรษฐกิจจะดีขึ้นตามลำดับ และตามการพัฒนาของประเทศ แต่อาจจะมีการผันผวนบ้าง เพราะอาจจะยังมีสงครามกลางเมืองอยู่ ผู้คนส่วนใหญ่จะใช้เงินใช้จ่ายมากขึ้น แต่อาจจะหันมาซื้อขายกันบนอินเตอร์เน็ต ( E-commerce) กันซะมากกว่าจะเดินออกไปเดินเลือกซื้อ เพราะทั้งง่ายและสะดวกกว่า  มีการลงทุนหุ้นมากขึ้น


2.สังคม เนื่องจากคนส่วนใหญ่ใช้จ่ายมากขึ้น ซื้อของมากขึ้น ต้องการความสะดวกสะบายมากขึ้น และใช้ชีวิตที่ความรวดเร็ว เร่งรีบ (ซึ่งในปัจจุบันจะใช้ชีวิตแบบนี้เฉพาะเมืองใหญ่ๆเท่านั้น) อาจจะนิยมใช้เครื่องทำความสะอาดในการทุ่นแรงกันอย่างแพร่หลาย

3.เทคโนโลยี  เทคโนโลยีในอนาคตจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบไม่หยุดยั้ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายมากขึ้นอย่างเด่นชัด  ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสะบายมากขึ้น 

4. มนุษย์  มนุษย์ในยุควัตถุนิยม และมีเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมักจะขาดปฎิสัมพันธ์กับคนรอบตัว มีคอมพิวเตอร์ หรือ Tablet เป็นเพื่อนมากกว่ามนุษย์ด้วย มีเวลาปฎิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวน้อยลง มีโลกส่วนตัวสูงกว่าปัจจุบัน  แต่ถึงกระนั้นมนุษย์ก็จะเริ่มมีการดุแลสุขภาพมากขึ้น และรักความสะอาดกันมากขึ้น

5.สิ่งแวดล้อม  เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น มีภัยพิบัติทางธรรมชาติมากขึ้น จึงทำให้มีเชื้อโรคและแบคทีเรียเพิ่มขยายมากขึ้นตามมาด้วย  ทุกคนเริ่มต้องการธรรมชาติเพิ่มขึ้น เพื่อให้ จิตใจและสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอาจจะลดลง และอาจจะมีมีจำกัดพื้นที่เพื่อเป็นที่ ที่เป็นสวนสาธารณะ อาจจะหาต้นไม้สีเขียวเป็นผืนป่าใหญ่ได้น้อยลง




ทรัพยากรน้ำในอนาคต


        ในอนาคตอย่างที่ทราบกันดีว่า มนุษย์อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนทรัพยากรต่างๆ เช่น น้ำ และน้ำมัน เป็นต้น   ซึ่งทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ
         ดังนั้น ในอนาคตสุขภัณฑ์อาจจะถูกออกแบบให้มีการรีไซเคิลการใช้น้ำจากที่ต่างๆมาชำระ แทนที่จะให้น้ำสะอาด และที่สำคัญต้องออกแบบให้ใช้น้ำน้อยและต้องถูกสุขลักษณะอนามัยมากที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะนำไปสู่โรคระบาดได้ในอนาคต    แต่หากจะพูดถึงด้านดีไซน์ในอนาคตนั้น มองว่าอาจจะออกแบบให้ประหยัดพลังงานในการใช้มากขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ โถสุขภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ ล้วนแต่ใช้ระบบไฟฟ้าทั้งสิ้น  ในอนาคตอาจจะให้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมทดแทนก็เป็นได้   ส่วนฟังก์ชั่นในปัจจุบัน ก็มีฟังก์ชั่นต่างๆมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในอนาคตฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจจะมีเพิ่มเติม เช่น เป็นปฎิทินบันทึกการใช้งาน หรืออาจจะมีระบบ organizer ช่วยบันทึกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันของผู้ใช้งาน  หรืออาจจะเป็นฟังก์ชั่นที่สามารถพับเก็บได้ก็อาจจะเป็นได้ เพราะในอนาคต พื้นที่ในการใช้ชีวิตอยู่อาจจะมีน้อยลง การที่ต้องเหลือพื้นที่ใช้สอยนั้นอาจจะจำเป็นมากก็เป็นได้ 


โถสุขภัณฑ์ในอนาคต

 ตัวอย่างสุดยอดผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ำ
       สืบเนื่องมาจากที่มีนักวิจัยหลายสำนักคาดการณ์ไว้ว่าในอีก 10 กว่าปีข้างหน้า หรือราวพ.ศ. 2568 ในกว่า 41 ประเทศจะเกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำดื่ม นักออกแบบจึงพยายามคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกรใช้น้ำให้มี ประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมากที่สุด วันนี้จะพามาดูกันว่าแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เขาออกแบบมาเพื่อช่วยประหยัดน้ำอีก ทั้งยังดูหน้าตาดี..มีชาติตระกูลอีกต่างหาก จะมีแบบไหนกันบ้าง



Tlalock

     โถสุขภัณฑ์และอ่างสุดประหยัดแบบ 2 in 1 ตัวแรกนี้มีชื่อว่า " Tlalock " จากการออกแบบของ  ARIEL ROJO STUDIO ซึ่งเป็นการนำกระบวนทัศน์ที่มีอยู่มาสรรสร้างสุขภัณฑ์ที่จะสามารถช่วยใน เรื่องของการหยัดน้ำได้จริง โดยผู้ออกแบบได้นำส่วนของอ่างล่างหน้ามาประกอบติดเข้ากับด้านบนของชักโครก เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมที่จะทำให้น้ำที่ถูกเปิดใช้ในการล้างมือไม่สูญเสียไป โดยเปล่าประโยชน์ แต่จะเข้าไปเพิ่มปริมาณน้ำให้กับแท็งก์น้ำในการชักโครกแทนและสามารถประหยัด น้ำได้ถึง 83% ของการใช้งานปกติในแต่ละวัน










Eco Bath

  อ่าง ล้างหน้าประหยัดน้ำชิ้นนี้มีชื่อว่า Eco Bath แค่ชื่อก็การันตีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปแล้ว 50% ว่าแล้วก็มาดูวิธีการใช้งานกันเลยดีกว่า - Eco Bath ถูกออกแบบมาเพื่อดึงเอาน้ำที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์จากการล้างมือกลับมาใช้ ใหม่โดยนำมาเก็บไว้ในส่วนของแท็งก์น้ำชักโครก ซึ่งแท็งก์เก็บน้ำจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซ้ายขวา โดยหากเรากดชักโครกด้านซ้ายจะเป็นการใช้น้ำของถังเก็บน้ำรีไซเคิลที่เตรียม ไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แต่หากเรากดชักโครกในด้านขวาก็จะเป็นการใช้น้ำประปาธรรมดา ซึ่งภายนอกก็จะมีลักษณะเหมือนแท็งก์น้ำปกติทั่วไป 





หลักการทำงานของ Eco Bath

ใน การใช้งานแต่ละครั้งเราจะสามารถสังเกตุได้จากหลอด LED ที่ติดอยู่กับตัวแท็งก์ ถ้าหาก LED แสดงผลออกมาเป็นแดงก็จะหมายความว่าถังน้ำรีไซเคิลยังบรรจุน้ำไม่เต็ม แต่ถ้าหากเป็นแสงสีเขียวก็จะหมายความว่าถังน้ำรีไซเคิลพร้อมใช้แล้ว



ห้องน้ำในอนาคต












     จะเห็นได้จากภาพตัวอย่างข้างต้นว่าห้องน้ำในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้านั้น จะออกแบบให้มี Function มากขึ้น  การ Design มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ยากต่อการทำความสะอาดเป็นอย่างมาก แต่ในอนาคต อาจจะมีการพัฒนาระบบทำความสะอาดใหม่ๆขึ้นมา เพื่อตอบสนองก็เป็นได้

ห้องน้ำสาธารณะ ::

ห้องน้ำสาธารณะ :: 


    

         ห้องนํ้าสาธารณะ หรือห้องส้วมสาธารณะ หมายถึง สถานที่ที่ใ้ห้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการ เพื่อชำระ หรือขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย เช่นตามห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หรือตามสถานนนีรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งห้องน้ำตามที่สาธารณะเหล่านี้จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดีแห่งหนึ่งก็ว่าได้ ซึ่งอาจจะแฝงอยู่ อาจแฝงอยู่ตามจุดต่างๆของห้องน้ำเช่นชักโครก อ่างล้างมือ หรือแม้กระทั่งลูกบิดประตู

เชื้อโรคที่มากับห้องน้ำ (สาธารณะ) มี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1. เชื้อในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อหนองในเชื้อเริม
2. เชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้ออุจจาระร่วงเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ เป็นต้น

    ดังนั้น เมื่อจะเข้าห้องน้ำสาธารณะต้องนึกถึงเรื่องความสะอาดเป็นอันดับแรก จึงมีวิธีปฎิบัติง่ายๆในการใช้ห้องน้ำสาธารณะให้ปลอดภัย
 1 . อย่าสัมผัสโดยตรง ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำสาธารณะ ถ้าเป็นไปได้ควรให้ร่างกายสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ในห้องน้ำน้อยที่สุด เช่น เมื่อเปิดประตูเข้าไป อาจจะใช้ทิชชูวางบนลูกบิดแล้วหมุนเข้าไป เป็นต้น

2 . ทำความสะอาดก่อนนั่ง ก่อนนั่งก็ควรทำความสะอาดที่นั่ง ด้วยกระดาษทิชชูแบบเปียกชนิดฆ่าเชื้อ หรือพกกระดาษรองนั่งไปปูบนฝาชักโครกก่อนทำธุระ และระวังอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมมากับน้ำได้

3. ใช้เวลาน้อยที่สุด ไม่ต้องถึงขั้นจับเวลา แต่ควรใช้เวลาในการทำกิจธุระในห้องน้ำให้สั้นที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ชักโครก ควรเลือกดูห้องที่สะอาดที่สุด และหลังทำธุระเสร็จ ควรปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายในอากาศ

4. ไม่เหยียบโถส้วม หลายคนใช้บริการห้องน้ำสาธารณะผิดวิธี โดยใส่รองเท้าขึ้นไปนั่งบนฝารองนั่ง เพราะคิดว่าจะทำให้ไม่สัมผัสกับเชื้อโรค แต่จริง ๆ แล้ว ระหว่างที่ทำธุระอาจจะมีการกระเด็นของน้ำในโถ ซึ่งเป็นที่รวมเชื้อโรคมาเปื้อนได้มากกว่าการนั่งธรรมดา

5. ไม่ตักน้ำที่เปิดไว้ การใช้น้ำล้างทำความสะอาด ไม่แนะนำให้ตักในส่วนที่มีอยู่ในถังเดิมใช้ แต่ควรรองจากก๊อกโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในถังน้ำ เพราะบางคนเอามือจุ่มล้างในถัง หากเป็นสายฉีดก็ควรฉีดน้ำให้ไหลทิ้งประมาณ 1 นาที เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ปะปนบริเวณรอบ ๆ สายฉีดได้

6. ล้างมือทุกครั้งหลังเสร็จธุระ เมื่อเข้าห้องน้ำสาธารณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้เชื้อโรคติดมากับมือของเรา ควรล้างมือให้สะอาด โดยเริ่มต้นล้างมือด้วยน้ำสะอาด และเริ่มล้างตั้งแต่มือแขนไปจนถึงข้อศอก ใช้มือแต่ละข้างถูบริเวณหลังมือของอีกข้างหนึ่ง แล้วถูฝ่ามือทั้งสองข้างขัดสิ่งสกปรกบริเวณซอกเล็บ ข้อนิ้วและง่ามมือ ล้างสบู่ออกด้วยน้ำสะอาด และเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ หากไม่มีสบู่ ก็ใช้น้ำสะอาดล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

การใช้ห้องน้ำสาธารณะ นอกจากจะต้องคำนึงถึงสุขอนามัยของตัวเองแล้ว ควรคำนึงถึงความสะอาดสำหรับผู้ที่จะมาใช้ต่อด้วย เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ มีการพัฒนาสายพันธุ์มากมาย การใช้ห้องน้ำสาธารณะอย่างถูกต้องและระมัดระวัง ก็จะช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เหล่านั้นได้


 

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

Material ::

Plastic ::






     พลาสติก (Plastic) มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า "plastikos" หมายความว่าหล่อ หรือหลอมเป็นรูปร่างได้ง่าย พลาสติกเป็นโพลิเมอร์ประเภทหนึ่งที่ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้น (Synthetic polymer) แต่ก็มีพลาสติกที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติเช่นกัน เช่น ชะแล็ก พลาสติกเป็นสารอินทรีย์ เป็นไฮโดรคาร์บอน มีไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก พลาสติกเป็นโพลิเมอร์ที่สามารถนำมาหล่อเป็นรูปร่างต่างๆตามแบบ โดยใช้ความร้อนและแรงอัดเพียงเล็กน้อย มีจุดหลอมเหลวระหว่าง 80-350 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกด้วย
       ปัจจุบันพลาสติก (plastic) มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุก่อสร้างหลายชนิดทำด้วยพลาสติก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือนจำพวกจานชาม ขวดโหลต่าง ๆ ของเล่นเด็ก วัสดุก่อสร้าง สีทาบ้าน กาวติดไม้และติดโลหะ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น เหตุที่พลาสติกเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูก มีน้ำหนักเบา ทนความชื้นได้ดี ไม่เป็นสนิม ทำให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามต้องการได้ง่ายกว่าโลหะ เป็นฉนวนไฟฟ้า มีทั้งชนิดโปร่งใสและมีสีต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนี้พลาสติกจึงใช้แทนโลหะหรือวัสดุบางชนิด เช่น แก้ว ได้เป็นอย่างดี แต่พลาสติกก็มีข้อเสียหลายอย่างด้วยกันคือ ไม่แข็งแรง (รับแรงดึง แรงบิดและแรงเฉือนได้ต่ำมาก) ไม่ทนความร้อน (มีจุดหลอมเหลวต่ำ) ติดไฟง่าย และไม่คงรูป จึงทำให้ขอบเขตการใช้งานของพลาสติกยังไม่กว้างเท่าที่ควร



  พลาสติกออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

 
1. เทอร์มอเซตติงพลาสติก (thermosetting plastic) เป็นพลาสติกชนิดที่จะแข็งตัวคงรูปอยู่ได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยอาศัยความร้อนและความกดดัน ภายหลังปฏิกิริยาเคมีมันก็จะแข็งตัว และเราจะไม่สามารถเปลี่ยนรูปของมันโดยไม่เปลี่ยนคุณสมบัติของมันได้กล่าวคือ เมื่อได้รับความร้อนมาก ๆ มันจะสลายตัวเสียรูปไป

Description: C:\Documents and Settings\Sirinya\Desktop\JOY_website\Material Selection\3.PVC.jpg

2. เทอร์มอพลาสติกพลาสติก (thermoplastic plastic) เป็นพลาสติกที่แข็งตัวโดยไม่อาศัยปฏิกิริยาทางเคมี แต่อาศัยคุณสมบัติทางกายภาพ เมื่อทำพลาสติกชนิดนี้ให้ร้อนขึ้นแล้วเทลงในเบ้าหรือแบบมันก็จะเปลี่ยนรูปร่างไปตามแบบนั้น และเมื่อเย็นลงก็จะแข็งตัวคงรูปอยู่ได้ และเมื่อเป็นรูปแล้วเราสามารถที่จะหลอมและเปลี่ยนรูปเป็นอย่างอื่นได้อีก เพราะคุณสมบัติทางเคมีของมันยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง





การแยกชนิดของพลาสติก 


      พลาสติกแต่ละชนิดมีจุดหลอมเหลวและความหนาแน่นต่างกัน จึงมีการใช้สัญลักษณ์เพื่อช่วยในการเลือกพลาสติกชนิดต่างๆ และช่วยในการแยกพลาสติกในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งเราสามารถแยกชนิดของพลาสติกออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้ 
สัญลักษณ์ของพลาสติกแต่ละชนิด

1 polyethyelene terephthalate (PETE) 
2 high-density polyethylene (HDPE)
3 vinyl, polyvinyl chloride (PVC)
4 low-density polyethylene (LDPE)
5 polypropylene (PP)
6 polystyrene (PS)
7 other (includes polycarbonate, acrylic, polylactic acid, fiberglass)







การรีไซเคิล (Recycle)


 

        การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือกระบวนการที่เรียกว่า "รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้
ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียม และพลาสติก "การรีไซเคิล" เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป
การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเก็บรวบรวม
2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
3. การผลิตหรือปรับปรุง
4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่แตกต่างชนิดกัน จะมีกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษ และสีที่แตกต่างกัน ต้องแยกประเภทออกจากกัน










คุณสมบัติพลาสติก

         พลาสติกนับว่าเป็นวัสดุที่มีบทบาทและสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ และเป็นคู่แข่งของเหล็ก ซึ่งนับวันได้ถูกใช้อย่างมากมายจนเหลือน้อยทำให้พลาสติกได้ถูกนำมาใช้แทนอย่างมาก เพราะพลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษดีเด่นกว่าวัสดุอื่นที่ใช้กันมาก่อนอย่างมากมาย เพราะสามารถใช้แทนวัสดุอื่นได้เกือบทั้งหมด เช่น         
    แข็งแรง                       ทนการสึกกร่อน                       ทึบแสง และเบา                       อ่อนนุ่ม                 ทนสารเคมี                     ลอยน้ำได้                                ยืดตัว                                      เป็นฉนวนไฟฟ้า                                หล่อลื่นในตัว                            เหนี่ยวทนทาน                        กันน้ำ                                        ทำเป็นสีต่าง ๆ ได้             โปร่งใส                                 ไม่ไฟติดง่าย                                                ทนความร้อน



       พลาสติกมีคุณสมบัติทางโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า High Molecular Weight คือในหนึ่งโมเลกุลมีจำนวนอะตอมมากกว่าสารชนิดอื่นมากมาย จึงทำให้มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างพร้อมกันไป คือ
                        - คุณสมบัติทางกายภาพ มีความแข็งแรง เหนียว ยืดหยุ่น ฯลฯ
                        - คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นฉนวนไฟฟ้า
                        - คุณสมบัติทางเคมี ทนกรด ด่าง และสารเคมีอื่น ๆ

ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติพลาสติกเมื่อเทียบกับเหล็ก
ข้อดี
1. น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้ง่าย
2. ทนต่อกรด – ด่างได้ดี ทำให้ไม่เกิดสนิม
3. กรรมวิธีผลิตชิ้นงานทำได้ง่ายและครั้งละหลาย ๆ ชิ้น
4. เป็นฉนวน กับกระแสไฟฟ้าได้ดี
5. สามารถ เชื่อม กลึง ใส เจาะ ประกอบได้ง่าย
6. ราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เพราะกรรมวิธีการผลิตทันสมัย และปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น
7. ผสมสีเข้ากันได้ดี ชิ้นงานจึงสามารถจะย้อมสีอะไรก็จะทำได้ง่ายและคงทน





การขึ้นรูปพลาสติก

   การขึ้นรูปพลาสติกนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกและลักษณะของชิ้นงานนั้นๆ แต่ในที่นี่เราจะกล่าวถึง การขึ้นรูปของ "  อะคริลิค (Acrylics) " ซึ่งเป็นวัสดุหลักของชิ้นงานนนี้
       
     อะคริลิค (Acrylics) เป็นพลาสติกที่ใสที่สุดชนิดหนึ่ง แข็งแรงพอสมควร เป็นรอยขีดข่วยง่ายทนแสงอุลตราไวโอเลทได้ดี ทนความร้อน ความเย็น เป็นฉนวนไฟฟ้าดีมาก ทนสารเคมีได้พอสมควร 


วิธีการขึ้นรูป ::

การขึ้นรูปด้วยเครื่องฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์ (lnjection molding machine
)


       เป็นวิธีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โดยการฉีดพลาสติกที่กำลังหลอมเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ด้วยความดันสูง เครื่องจักรที่ใช้ในการนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่และเป็นที่นิยมแพร่หลายมีส่วนประกอบสำคัญคือ
ฮอปเปอร์ (Hopper) อุปกรณ์ส่วนนี้มีลักษณะเป็นกรวยขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่ใช้บรรจุเม็ดพลาสติกและสารเติมแต่ง เพื่อป้อนเข้าเครื่องฉีดพลาสติก
         กระบอกฉีดและสกรู (lnjector and screw) เป็นส่วนสำคัญของเครื่องฉีดพลาสติกทำหน้าที่หลอมเหลวพลาสติก และสร้างแรงดันเพื่อฉีดพลาสติกหลอมเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ ประกอบด้วยกระบอกตรึงติตอยู่กับที่ ส่วนต้นของกระบอกเป็นที่ติดตั้งฮอปเปอร์ ตรงส่วนกลางและส่วนปลายของกระบอกมีเครื่องให้ความร้อนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ ปลายของกระบอกจะต่อเข้ากับหัวฉีดภายในของกระบอกนี้เป็นสกรูที่มีความยาวสั้นกว่ากระบอกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นเกลียวหยาบหมุนป้อนส่วนผสมของพลาสติกให้เคลื่อนที่เข้าสู่กระบอก สามารถเคลื่อนถอยหลังและดันกลับ เพื่อเพิ่มแรงดันให้พลาสติกหลอมเหลวไหลเข้าสู่แม่พิมพ์
          หัวฉีด (nozzle) เป็นส่วนต่อปลายกระบอกฉีดพลาสติกเข้ากับช่องทางไหลของพลาสติกในแม่พิมพ์หัวฉีดมีรูขนาดเล็กเพื่อให้พลาสติกหลอมเหลวไหลผ่านเข้าสู่ช่องว่างในแม่พิมพ์ด้วยความรวดเร็ว
          มอเตอร์ขับสกรู (Drived motor) มอเตอร์ขับสกรู อาจเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า หรือมอเตอร์ไฮดรอลิก สำหรับหมุนสกรูและขับดันสกรู เพื่อฉีดพลาสติกที่กำลังหลอมเข้าสู่ช่องว่างในแม่พิมพ์
          แม่พิมพ์ (mold) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นช่องว่างที่มีรูปร่างตามผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิต แม่พิมพ์ โดยทั่วไปมักออกแบบให้มี ๒ ชิ้น เพื่อให้สะดวกต่อการถอดผลิตภัณฑ์ออกจากแม่พิมพ์นอกจากนี้ ต้องมีช่องทางไหลของพลาสติกหลอมเหลวต่อจากหัวฉีดเข้าสู่ช่องว่างในแม่พิมพ์เรียกว่า สปรู (sprue) ในแม่พิมพ์ที่มีหลายช่อง (เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ครั้งละหลายชิ้น) จะต้องมีช่องทางแยกจากสปรูเข้าสู่แม่พิมพ์แต่ละช่อง เรียกว่า รันเนอร์ (runner)
          ตัวหนีบยึดแม่พิมพ์ (Hydraulic clamp unit) มักเรียกกันว่า แคล้ม เป็นกลไกสำหรับเปิดและปิดฝาแม่พิมพ์ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฮดรอลิก อุปกรณ์ส่วนนี้ยังรวมทั้งอุปกรณ์ทำความร้อนเพื่ออุ่นแม่พิมพ์ก่อนฉีด และอุปกรณ์ทำความเย็นเพื่อลดอุณหภูมิแม่พิมพ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์แข็งตัวก่อนถอดออกจากแม่พิมพ์
          ชุดควบคุมกลาง (Central control) เป็นชุดควบคุมเครื่องจักรรวมทุกส่วน ได้แก่ อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์วัด และควบคุมอุณหภูมิ อุปกรณ์ควบคุมความดัน และอุปกรณ์ตั้งเวลา

lnjection molding machine